เรื่องซื้อบ้านกับการกู้สินเชื่อเรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน แล้วจะเลือกกู้ซื้อบ้านกันธนาคารไหนดี? หายห่วงได้ DDproperty
ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน อัพเดทประจำเดือน พฤศจิกายน ปี 2560 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลย
ที่ไหนให้สินเชื่อกู้ซื้อบ้านคิดดอกเบี้ยต่ำสุด มีเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเลือกสินเชื่อ สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือก
ซื้อบ้าน หรือ
คอนโด ได้ง่ายขึ้น พร้อมตัวช่วยในการ
คำนวณผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน
สำหรับฝั่งธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เป็นธนาคารที่มีดอกเบี้ยอันดับสองรองลงมามีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.18% สำหรับสินเชื่อ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 5 ล้านบาทขึ้นไป
ส่วน ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเดือนที่แล้วที่ 4.42% (ภายใต้โครงการที่ธนาคารวางเงื่อนไข) และ ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ มีอัตราดอกเบี้ยคงที่
โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับโครงการทั่วไปแบบที่ 1 อยู่ที่ 6.75% และแบบที่สองอยู่ที่ 4.75% และให้วงเงินกู้สูงสุดจากการประเมินถึง 100% ส่วนถ้าเป็นบริษัทอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนดจะมีอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโครงการไม่เท่ากัน
ส่วนฝั่งของธนาคารรัฐยังเป็นเจ้าเดิมที่ครองอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดนั่นคือ ธนาคารทหารไทย (TMB) ที่ให้วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน สำหรับ บ้านและคอนโดมิเนียม ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และ 90% ของราคาประเมิน สำหรับ บ้านและคอนโดเนียม ราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป และมีอัตราดอกเบี้ยลดลงมาอยู่ที่ 4.00% สำรับบริษัทอสังหาฯ ที่กำหนด โดยมีอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารออมสิน (GSB) อยู่ในเรทรองลงมาที่ 4.25% สำหรับโครงการทั่วไปแต่วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 85% ของราคาประเมินเท่านั้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื้อของธนาคารอื่นเราสรุปมาให้ในตารางด้านล่างนี้
อัพเดทตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ บ้าน - คอนโด ของธนาคารพาณิชย์ เดือน พฤศจิกายน 2560
*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***
สามารถดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละธนาคาร และชมรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี วงเงินกู้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่นี่:
ข้อมูลที่น่าสนใจ ของธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในเดือนนี้ได้แก่ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารทหารไทย และธนาคารออมสิน โดยปล่อยวงเงินกู้สูงสุดถึง 85 - 95% ของราคาประเมิน โดยอีกหนึ่งธนาคารที่น่าสนใจคือธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับบริษัทอสังหาฯ ที่กำหนด ซึ่งแต่ละโครงการจะมีอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากันและบางโครงการอาจมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ธนาคารกรุงศรี ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในเดือนนี้
ที่มาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปี แรก*
- ธนาคารทหารไทย กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับบริษัทพัฒนาอสังหาฯที่กำหนด ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 4.00% ปีที่ 2 4.00% ปีที่ 3 4.00% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00%
-ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา กำหนดอัตราดอกเบี้ย สำหรับ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 5 ล้านบาทขึ้นไป แบบที่ 3 ให้มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด เดือนที่ 1-6 1.25% เดือนที่ 7-24 MRR-1.85%ปีที่ 3 MRR-1.85% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18%
- ธนาคารออมสิน กำหนดอัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.25% ปีที่ 2 MRR-2.00% ปีที่ 3 MRR-0.75% โดยมี MRR=7.125% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25%
กรณีตัวอย่าง : ใช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000
หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน
คำนวณเบื้องต้นจากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด
ซื้อบ้านกับธนาคารทหารไทยที่มีดอกเบี้ยคงที่อยู่ที่ 4.00% ทั้ง 3 ปี โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือนตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 283,254.74 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 220,745.26 บาท
***ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าวเป็นการคาดคะเน อัตราจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร***
นอกจากอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว เรายังมีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงมาแนะนำอีกด้วย
1. บ้านโครงการใหม่ หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามสินเชื่อที่ทางโครงการจัดให้ หรือสามารถสอบถามจากทางธนาคารโดยตรงก็ได้ครับว่าโครงการที่สนใจจะซื้อนั้นเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
2. การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPA ธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้นมักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้ครับ
3. หน่วยงานที่ทำงาน บางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่างๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่างๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัทซึ่งเราทำงานอยู่ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละธนาคาร
4. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
5. กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ครับ
6. ทำประกัน MRTA การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อหรือ MRTA พร้อมกับการขอสินเชื่อนั้น ธนาคารมักจะมีส่วนลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อย แต่จะมีเงื่อนไขว่าต้องทำประกันคุ้มครองเป็นสัดส่วนเท่าใดของวงเงินกู้ หรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะสามารถให้รายละเอียดคุณได้ครับ
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมาจากเว็บไซต์ของธนาคาร และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของธนาคารเท่านั้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของธนาคารผู้ออกสินเชื่อนั้น หรือสอบถามโดยตรงจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารได้ทุกสาขาซึ่งยินดีให้ข้อมูล