วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ช่องทางง่ายๆ ในการจ่ายบิลรายเดือน,ทำความสะอาดหรือซ่อมแซม เมื่อเช่าคอนโดหรือบ้าน

เนื่องจาก ค่าเช่าคอนโดมิเนียม/บ้านจ่ายตรงให้กับเจ้าของห้องผ่านการโอนเงินธนาคารรายเดือนแล้วนั้น จะไม่รวมบิลรายเดือนต่างๆ อีกเช่น
น้ำประปา, ไฟฟ้า, อินเตอร์เนต, รายการทีวี เป็นต้น ซึ่งผู้เช่ามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบตลอดอายุสัญญาเช่า
(ไม่มีข้อยกเว้น หรือนำบิลค้างจ่ายนำไปหักจากเงินมัดจำ)


  • จ่ายโดยตรงที่สำนักงานทำการ
  • เคาท์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ ในร้านสะดวกซื้อ จะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 10-15 บาท/บิล 
  • หักบัญชีธนาคารประจำเดือน วิธีนี้กำหนดวันจ่ายบิลได้ ไม่ต้องกังวล และมีค่าธรรมเนียมตามธนาคารนั้นๆกำหนด  
  • ค่าน้ำประปา จ่ายโดยตรงกับนิติบุคคลของที่ที่อาศัยอยู่ ซึ่งมีการโอนเข้าบัญชีนิติบุคคลเพื่อเป็นหลักฐานการชำระบิลได้ดีกว่าจ่ายเงินให้กับพนักงานนิติบุคคล
  • E-service ผ่านหน้าเว็บไซต์
  • แอพพลิเคชั่นของผู้ให้บริการ ด้วยการสแกนบาร์โค้ดหรือผูกบัญชีบัตรเครดิต


คลิ้กเพื่อดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น



AIS Fiber online 
E- service 



True iService (Mobile Application)



แนะนำ Seekster 
แอพลิเคชั่นที่ให้บริการหลากหลาย เช่น ทำความสะอาด, รีดผ้า, ล้างแอร์, ซ่อมแซมต่างๆ
ส่วนนี้ ผู้เช่าต้องรับผิดชอบเองเช่นกัน เพื่อให้ที่อยู่อาศัยสะอาดและปลอดภัย



วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Update อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน กู้ซื้อคอนโด

เรื่องซื้อบ้านกับการกู้สินเชื่อเรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน แล้วจะเลือกกู้ซื้อบ้านกันธนาคารไหนดี? หายห่วงได้ DDproperty ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน อัพเดทประจำเดือน พฤศจิกายน ปี 2560 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลย ที่ไหนให้สินเชื่อกู้ซื้อบ้านคิดดอกเบี้ยต่ำสุด มีเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเลือกสินเชื่อ สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน หรือ คอนโด ได้ง่ายขึ้น พร้อมตัวช่วยในการคำนวณผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน
เดือนพฤศจิกายนธนาคารต่างๆ ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับเดือนพฤศจิกายนเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น ธนาคารทหารไทย (TMB) ที่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนด อาทิ โครงการบ้านและคอนโดฯจากแสนสิริ, โครงการบ้านและคอนโดฯจากอนันดาฯ และโครงการบ้านและคอนโดฯจากเอพี (ไทยแลนด์) เป็นต้น (สามารถดูรายชื่อบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดทั้งหมดของธนาคารทหารไทยได้ที่นี่) โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีในเดือนตุลาคมที่ 4.25% ลดลงมาอยู่ที่ 4.00% 
สำหรับฝั่งธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เป็นธนาคารที่มีดอกเบี้ยอันดับสองรองลงมามีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.18% สำหรับสินเชื่อ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 5 ล้านบาทขึ้นไป 
ส่วน ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับเดือนที่แล้วที่ 4.42% (ภายใต้โครงการที่ธนาคารวางเงื่อนไข) และ ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 
โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับโครงการทั่วไปแบบที่ 1 อยู่ที่ 6.75% และแบบที่สองอยู่ที่ 4.75% และให้วงเงินกู้สูงสุดจากการประเมินถึง 100% ส่วนถ้าเป็นบริษัทอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนดจะมีอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโครงการไม่เท่ากัน
ส่วนฝั่งของธนาคารรัฐยังเป็นเจ้าเดิมที่ครองอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดนั่นคือ ธนาคารทหารไทย (TMB) ที่ให้วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน สำหรับ บ้านและคอนโดมิเนียม ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และ 90% ของราคาประเมิน สำหรับ บ้านและคอนโดเนียม ราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป และมีอัตราดอกเบี้ยลดลงมาอยู่ที่ 4.00% สำรับบริษัทอสังหาฯ ที่กำหนด โดยมีอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารออมสิน (GSB) อยู่ในเรทรองลงมาที่ 4.25% สำหรับโครงการทั่วไปแต่วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 85% ของราคาประเมินเท่านั้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื้อของธนาคารอื่นเราสรุปมาให้ในตารางด้านล่างนี้
*อัตราสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมากนัก ประมาณ 1 ไตรมาสหรือครึ่งปีต่อครั้ง ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแต่ละที่ด้วย
อัพเดทตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ บ้าน - คอนโด ของธนาคารพาณิชย์ เดือน พฤศจิกายน 2560

*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***
สามารถดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละธนาคาร และชมรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี วงเงินกู้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่นี่: 
ข้อมูลที่น่าสนใจ ของธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในเดือนนี้ได้แก่ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารทหารไทย และธนาคารออมสิน โดยปล่อยวงเงินกู้สูงสุดถึง 85 - 95% ของราคาประเมิน โดยอีกหนึ่งธนาคารที่น่าสนใจคือธนาคารไทยพาณิชย์สำหรับบริษัทอสังหาฯ ที่กำหนด ซึ่งแต่ละโครงการจะมีอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากันและบางโครงการอาจมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ธนาคารกรุงศรี ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดในเดือนนี้
ที่มาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปี แรก*
- ธนาคารทหารไทย กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับบริษัทพัฒนาอสังหาฯที่กำหนด ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 4.00%  ปีที่ 2 4.00% ปีที่ 3 4.00% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00%
-ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา กำหนดอัตราดอกเบี้ย สำหรับ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด   ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 5 ล้านบาทขึ้นไป แบบที่ 3 ให้มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด เดือนที่ 1-6 1.25% เดือนที่ 7-24 MRR-1.85%ปีที่ 3 MRR-1.85% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18%
- ธนาคารออมสิน กำหนดอัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 1.25% ปีที่ 2 MRR-2.00% ปีที่ 3 MRR-0.75%  โดยมี MRR=7.125% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25%

กรณีตัวอย่าง : ช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000
หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน 
คำนวณเบื้องต้นจากธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด
ซื้อบ้านกับธนาคารทหารไทยที่มีดอกเบี้ยคงที่อยู่ที่ 4.00% ทั้ง 3 ปี  โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือนตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 283,254.74 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 220,745.26 บาท 

การคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามกรณีตัวอย่างด้านบนเป็นการคำนวณเบื้องต้น 3 ปีแรกเท่านั้น หากต้องการคำนวณการผ่อนสินเชื่อบ้านตลอดระยะเวลาการกู้ สามารถดาวน์โหลดตารางคำนวณผ่อนสินเชื่อบ้าน โดยอ้างอิงจากอตราดอกเบี้ยและการผ่อนชำระจริงต่อเดือนได้ที่นี่

***ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าวเป็นการคาดคะเน อัตราจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร***

นอกจากอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว เรายังมีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงมาแนะนำอีกด้วย
1. บ้านโครงการใหม่ หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามสินเชื่อที่ทางโครงการจัดให้ หรือสามารถสอบถามจากทางธนาคารโดยตรงก็ได้ครับว่าโครงการที่สนใจจะซื้อนั้นเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
2. การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPA ธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้นมักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้ครับ
3. หน่วยงานที่ทำงาน บางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่างๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่างๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัทซึ่งเราทำงานอยู่ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละธนาคาร
4. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
5. กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ครับ
6. ทำประกัน MRTA การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อหรือ MRTA พร้อมกับการขอสินเชื่อนั้น ธนาคารมักจะมีส่วนลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อย แต่จะมีเงื่อนไขว่าต้องทำประกันคุ้มครองเป็นสัดส่วนเท่าใดของวงเงินกู้ หรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะสามารถให้รายละเอียดคุณได้ครับ
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมาจากเว็บไซต์ของธนาคาร และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของธนาคารเท่านั้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของธนาคารผู้ออกสินเชื่อนั้น หรือสอบถามโดยตรงจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารได้ทุกสาขาซึ่งยินดีให้ข้อมูล
รวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงบทความ: DDproperty

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สายสีนํ้าตาลแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จุดพลุทำเลทองใหม่เชื่อมรถไฟฟ้า6สาย

ตามที่ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีการนำเสนอข่าวกรณีสำนักผังเมืองกรุงเทพ มหานครจะมีการปรับผังเมืองในพื้นที่ตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์) เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาโครงการของภาคเอกชนในโซนพื้นที่ดังกล่าวจากปัจจุบันสามารถพัฒนาโครงการได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น




นอกจากนั้นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ยังมีแผนก่อสร้างโครงการทางด่วนสายเหนือ ช่วง N1-N2 และ E-W Corridor ให้เชื่อมกับทางด่วนเส้นทางตะวันออก และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในแนวเส้นทางดังกล่าว นั่นคือ รถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เพื่อลดเวลาในการเดินทางของประชาชนและเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลนี้จัดเป็นโครงการที่มีแนวคิดมาจากการศึกษาทบทวนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่ กทพ.ได้ก่อสร้างเสาตอม่อกว่า 280 ต้นเตรียมไว้แล้ว ต่อมากระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลแทน

นอกจากนั้นโครงการนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 รับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 ที่มอบหมายให้ สนข. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม โดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและการเชื่อมต่อต่างๆ ตลอดจนทางเลือกในการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุขกับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกอีกด้วย

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาล จะมีจุดเชื่อมต่อได้กับโครงการรถไฟฟ้า 6 สาย เริ่มต้นจากแยกแคราย (เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน (เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บริเวณสถานีบางเขน) ผ่านแยกเกษตร (เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนนวมินทร์ และไปสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง (เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บริเวณแยกลำสาลี) ระยะทางประมาณ 21.5 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ได้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนไปแล้วหลายครั้ง คาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาในการเดินทางของประชาชน ช่วยด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนงามวงศ์วาน และถนนประเสริฐมนูกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย แต่ยังมีลุ้นว่าโครงการรถไฟฟ้าสายนี้และทางด่วนสายเหนือจะก่อสร้างไปตามแนวเดียวกันหรือจะเกิดขึ้นเฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้นปี 2561 คงได้ความชัดเจน


ที่มา : หนังสือฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อัพเดทความความคืบหน้ารถไฟฟ้าในกรุงเทพ

รฟม. แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 
-------------------------------------------------------------------------------------
1. โครงการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ 
ปัจจุบัน มีความก้าวหน้า 96.42% โดยในส่วนของงานก่อสร้างโครงสร้างเหล็กทางวิ่งรถไฟฟ้าช่วงข้ามทางแยก (BOWSTRING) บางพลัด มีความคืบหน้าใกล้แล้วเสร็จโดยมีความก้าวหน้า 82 % และในส่วนของ BOWSTRING บริเวณแยกไฟฉาย มีก้าวหน้ารวม 91.64 % ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดจะเปิดให้บริการช่วง
หัวลำโพง – บางแค ในปี 2562 และ ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เปิดให้บริการในปี 2563
--------------------------------------------------------------------------------------
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต
ปัจจุบัน มีความก้าวหน้า 48.56% โดยมีงานก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรศาสตร์ มีความก้าวหน้า 66.39% เปิดให้บริการปี 2561 งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยก
รัชโยธิน มีความคืบหน้า 64.12% เปิดให้บริการปี 2561 และงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกรัชโยธิน มีความคืบหน้า 53.82% เปิดให้บริการปี 2562 นอกจากนี้ ยังมีงานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าข้ามทางด่วน
ดอนเมืองโทลล์เวย์ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มีความก้าวหน้า 25.68% ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 2563
-------------------------------------------------------------------------------------
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ปัจจุบัน รฟม. โดยผู้รับจ้างก่อสร้างฯ อยู่ระหว่างการสำรวจสาธารณูปโภคใต้ดิน มีความก้าวหน้า 3.24% ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2566

สำหรับในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง นั้น ปัจจุบัน รฟม. ได้ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มบริษัทเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการแล้วเรียบร้อย และขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเข้าพื้นที่ของบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างเพื่อเริ่มดำเนินงานสำรวจและรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน โดยทั้ง 2 โครงการ มีกำหนดจะเปิดให้บริการภายในปี 2564 ติดตามรายละเอียดข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. (www.mrta.co.th) และเฟซบุ๊คแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044  





_________________________________
กองสื่อสารองค์กร สำนักผู้ว่าการ
โทร 0 2716 4000 ต่อ 1720
โทรสาร 0 2716 4019
Email : pr@mrta.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

Update การก่อสร้างและปิดถนนสร้างรฟฟ.สีชมพู เหลือง ส้ม

"สมคิด"ลงนามในสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู – สีเหลือง, ที่มา คมชัดลึก 

วันที่ 16 มิ.ย. 60 เวลา 13.30 น. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว พร้อมกล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ มีมูลค่ารวมกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเส้นทางสร้างความเชื่อมั่นให้กลุ่มนักลงทุนเข้ามาลงทุนอีกมาก โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะเร่งผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท ให้เป็นไปตามแผนภายใน 2 ปีนี้ โดยภายในปีนี้จะผลักดันให้มีการลงนามสัญญาว่าจ้างอีกหลายโครงการ เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ สายสีส้มตะวันตก และสายสีแดง รวมถึงโครงการรถไฟทางคู่ 5 สายทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง อีกด้วย  อ่านเพิ่มเติม คลิ้ก.... 





 เตรียมตัวให้ดี จากวันนี้ยาวกันปีถึง ปี 2562 วิกฤตการจราจรกรุงเทพฯ จะหนักมากยิ่งขึ้น (จากที่หนักอยู่แล้ว) จากการปิดถนนหลัก 10 สาย ปักตอม่อรถไฟฟ้า เพิ่มอีก 3 สาย คือ สายสีเหลือง สีชมพู และสายสีส้มที่จประเดิมก่อนใครเพื่อน เดือน พ.ค. 60 นี้แล้ว 


สายสีส้ม   
รถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีระยะทาง 21.2 กม. งบประมาณ79,221 ล้านบาท จะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดเสร็จเปิดบริการมี.ค. 2566  แนวเส้นทางจะเริ่มที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นมุ่งหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง แล้วเบี่ยงไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวเข้า ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง  เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.2 กม.จากศูนย์วัฒนธรรม-คลองบ้านม้า จากนั้นเป็นโครงสร้างยกระดับจนถึงปลายทางที่สถานีสุวินทวงศ์  โดยผู้รับเหมาจะเริ่มเข้าเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ในวันที่ 2 พ.ค. นี้ แต่คงเข้าไม่พร้อมกันทุกจุด ขั้นแรกจะเริ่มรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ซึ่งถนนพระราม 9 และรามคำแหงใต้ดินมีท่อประปาขนาดใหญ่ คาดว่าจะทยอยปิดถนนประมาณ ก.ย.นี้ สำหรับสถานีนั้นสายสีส้มมีทั้งหมด 17 สถานี ได้แก่  1.สถานีศูนย์วัฒนธรรม 2.สถานี รฟม. 3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 4.สถานีรามคำแหง 12 5.สถานีรามคำแหง 6.สถานีราชมังคลา 7.สถานีหัวหมาก 8.สถานีลำสาลี 9.สถานีศรีบูรพา 10.สถานีคลองบ้านม้า 11.สถานีสัมมากร 12.สถานีน้อมเกล้า 13.สถานีราษฎร์พัฒนา 14.สถานีมีนพัฒนา 15.สถานีเคหะรามคำแหง 16.สถานีมีนบุรี และ 17.สถานีสุวินทวงศ์
สายสีเหลือง - สีชมพู 
ขณะที่รถไฟฟ้า "สีชมพู" แคราย-มีนบุรี 34.5 กม. 53,519.50 ล้านบาท และ "สีเหลือง"ลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. 51,931.15 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้งส์, บมจ. ซิโน-ไทยฯ และ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ เป็นผู้ก่อสร้างและบริหารการเดินรถทั้งโครงการ โดยทั้ง 2 สายจะเซ็นสัญญาในช่วง ปลาย เม.ย.- ต้นพ.ค. นี้ จะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างปลายปีนี้  และคาดว่าจะเปิดใช้บริการในปี พ.ศ. 2563 
แนว "สายสีชมพู" จุดเริ่มต้นอยู่หน้าศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อกับสายสีม่วง วิ่งเข้าถนนติวานนท์ เลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และมาปลายทางที่มีนบุรี มี 30 สถานี
ได้แก่ 1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 2.สถานีแคราย 3.สถานีสนามบินน้ำ 4.สถานีสามัคคี 5.สถานีกรมชลประทาน 6.สถานีปากเกร็ด 7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 9.สถานีเมืองทองธานี 10.สถานีศรีรัช 11.สถานีเมืองทอง 1 12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 13.สถานีทีโอที
14.สถานีหลักสี่ 15.สถานีราชภัฏพระนคร 16.สถานีวงเวียนหลักสี่ 17.สถานีรามอินทรา 18.สถานีลาดปลาเค้า 19.สถานีรามอินทรา 31 20.สถานีมัยลาภ 21.สถานีวัชรพล 22.สถานีรามอินทรา 40 23.สถานีคู้บอน 24.สถานีรามอินทรา 83 25.สถานีวงแหวนตะวันออก 26.สถานีนพรัตนราชธานี 27.สถานีบางชัน 28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29.สถานีตลาดมีนบุรี และ 30.สถานีมีนบุรี ใกล้แยกร่มเกล้า จะมีจุดจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่
ส่วน "สายสีเหลือง" เริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าวเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วไปตามถนนลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีนครินทร์ จากนั้นยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 แยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดมสุข ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์ และสิ้นสุดปลายทางที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย มีโรงจอดรถพร้อมศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งและอาคารจอดแล้วจร 1 แห่งที่แยกต่างระดับศรีเอี่ยม  มี 23 สถานี ได้แก่ 1.สถานีรัชดา 2. สถานีภาวนา 3.สถานีโชคชัย 4 4.สถานีลาดพร้าว 71 5.สถานีลาดพร้าว 83 6.สถานีมหาดไทย 7. สถานีลาดพร้าว 101 8.สถานีบางกะปิ 9.สถานีลำสาลี 10.สถานีศรีกรีฑา 11.สถานีพัฒนาการ 12.สถานีกลันตัน 13.สถานีศรีนุช 14.สถานีศรีนครินทร์ 38 15.สถานีสวนหลวง ร.9 16.สถานีศรีอุดม 17.สถานีศรีเอี่ยม 18.สถานีศรีลาซาล 19.สถานีศรีแบริ่ง 20.สถานีศรีด่าน 21.สถานีศรีเทพา 22.สถานีทิพวัล และ 23.สถานีสำโรง

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ : https://www.home.co.th/hometips/news

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 


วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

เริ่มต้นปีด้วยการวางแผนภาษีแบบง่ายๆ 5เทคนิคจากนักการเงิน

การ วางแผนภาษี ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงต้นปีสามารถช่วยให้เราลดภาระภาษีจ่ายในปีนั้นๆ ได้ By k-expert

พูดถึงภาษี ที่ผ่านมาบางคนอาจจะไม่ได้สนใจ ยิ่งมนุษย์เงินเดือนเจอบริษัทหักไปทุกเดือน ไม่เคยลองเอามารวมกัน ก็รู้สึกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มากเท่าไร แต่พอถึงฤดูกาลยื่นภาษี ภายในเดือนมีนาคม ค่อยมาตกใจว่าทำไมเราเสียภาษีเยอะจัง จริงๆ แล้ว “ภาษี” คือ ค่าใช้จ่ายที่สามารถประหยัดได้
หากมีการวางแผนภาษีด้วย 5 เทคนิค วางแผนภาษี ดังนี้
  1. ประมาณการรายได้ทั้งปี เพื่อให้รู้ว่าในปีภาษีปัจจุบันนี้ เรามีรายได้ประมาณเท่าไร เสียภาษีในฐานอะไร จะได้วางแผนลงทุนเพื่อลดเงินได้สุทธิลง ทำให้เสียภาษีในฐานที่ต่ำลงค่ะ
  1. แจ้ง HR ให้หักลดหย่อนภาษีส่วนบุคคล เพื่อให้ภาษีที่หักนำส่งสรรพากรใกล้เคียงกับภาษีที่ต้องจ่ายจริง ทั้งสิทธิลดหย่อนส่วนตัว เช่น ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนบิดามารดา ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน เป็นต้น
  1. ใช้สิทธิลดหย่อนให้เต็มที่ และลงทุนเพื่อประหยัดภาษี เริ่มจากการสำรวจสิทธิให้ครบถ้วน เพราะนอกจากค่าลดหย่อนส่วนตัวแล้ว ค่าลดหย่อนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เช่น ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ค่าเบี้ยประกันชีวิต เงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หรือ เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่ลืมนำมาหักลดหย่อนด้วย ซึ่งหากระหว่างปีมีรายได้เพิ่มก็ควรปรับแผนด้วยการลงทุนในกองทุน LTF/RMF ประกันชีวิต หรือประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้น
  1. ขอคืนภาษีเงินปันผลที่เสียซ้ำซ้อน กรณีที่มีการลงทุนในหุ้นสามัญจดทะเบียน และได้รับเงินปันผล แนะนำให้ขอคืนภาษีเงินปันผล (เครดิตภาษีเงินปันผล) เนื่องจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทที่ลงทุนมีการเสียภาษีนิติบุคคลมาแล้วครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น และเมื่อผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลจะต้องเสียภาษีเงินปันผล ณ ที่จ่ายอีก 10% ถือเป็นการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน ดังนั้น หากผู้มีเงินได้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าภาษีนิติบุคคล (20%) แนะนำให้ใช้สิทธิขอคืนภาษีเงินปันผล
  1. เลือกยื่นแบบให้เหมาะ โดยเฉพาะคู่สามีภรรยา เพราะการเลือกแบบให้เหมาะกับตนเองและคู่สมรสจะช่วยให้สามารถประหยัดภาษีได้ค่ะ

*แยกยื่น เหมาะกับคู่สมรสที่มีเงินได้อยู่ในฐานภาษีเดียวกัน การแยกยื่นจะทำให้คู่สมรสได้รับการยกเว้นภาษี 150,000 บาทแรก จึงทำให้มีโอกาสเสียภาษีน้อยกว่าการรวมยื่นค่ะ
*ยื่นรวมเงินได้ทุกประเภ เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีรายได้ไม่สูงนัก แต่มีรายได้ไม่สูงมากนัก แต่มีรายการที่ใช้หักเป็นค่าลดหย่อนได้มาก
*ยื่นรวมเฉพาะเงินได้ประเภทอื่น เหมาะกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือนสูง และมีเงินได้ประเภทอื่น วิธีนี้จะช่วยให้ฐานภาษีของตนเองลดลง
เมื่อวางแผนภาษีแล้ว ควรลงมือทันทีค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนเพื่อประหยัดภาษี สามารถลงทุนทุกๆ เดือน เพื่อเป็นการเฉลี่ยต้นทุนได้


ข้อมูลจาก K-Expert 
ภาพประกอบ : กรมสรรพากร , aommoney , โพสต์ทูเดย์ , thaipublica